วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบความรู้เบื้องต้น Topology 5 ข้อ ปรนัย

1.การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดที่ข้อมูลวิ่งแบบทางเดียวบนสายสัญญษณ
a. ฺStar Topology
b. Bus Topology
c. Star-Ring Topology
d. Ring Topology

2.การแบ่งปันการใช้ข้อมูลในระบบเครือข่ายยุคแรก ๆ ใช้การบันทึกข้อมูลลงดิสก์แล้วส่งไปยังผู้ใช้รายอื่น ๆ เรียกระบบเครือข่ายแบบนี้ว่าอะไร
a. Diskette Netwrok
b. LinkerNet
c. SneakerNet
d. Topology

3.ข้อใดคือข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ Ring Topology
a. ใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
b. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่วนกลางเสียเป็นผลให้ระบบล้มเหลว
c. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียจะเป็นผลกระทบทั้งระบบ
d. ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการติดตั้งระบบ

4.Topogogy แบบใดที่ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
a. Star Topology
b. Bus Topology
c. Ring Topology
d. Mesh Topology

5.การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้สายเคเบิลร่วมกันเป็นการเชื่อมต่อแบบใด
a. Star Topology
b. Ring Topology
c. Bus Topology
d. Mesh Topology

e-learning ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ

e-learning ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ
- e-learning ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโครงการ ChulaOnline มี URL ในการเรียกดูคือ www.chulaonline.com โดยปัจจุบันเปิดบริการให้ความรู้หลากหลายวิชา ทั้งสำหรับนักศึกษาและบุคคลภายนอก
ข้อดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นหาความรู้ในวิชาที่เรียน สิ่งที่อยากศึกษาเพิ่มเติมคือเนื้อหาเรื่องการทำโปรเจ็ค

Topology

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้


ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก


ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

e-Learning ที่เกี่ยวข้อง

จาก โรงเรียนพิมายวิทยา โดย ... วีรจินต์ นาคะนิเวศน์
• Bank of America Securities: e-learning คือการมาบรรจบกันของการเรียนและอินเทอร์เน็ต
• Cornelia Weggen, WR Hambrecht & Co: e-learning [คือ] การส่งเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคทั้งมวล ซึ่งหมายรวมถึงอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม วิทยุโทรทัศน์ ออดีโอ/วิดีโอเทป TV แบบโต้ตอบ และ CD-ROM
• Elliott Masie, The Masie Center: e-learning คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อออกแบบ นำส่ง เลือก บริหารจัดการ และขยายขอบเขตของการเรียนออกไป
• Arista Knowledge Systems: e-learning คือการใช้พลานุภาพของเครือข่ายเพื่อให้การเรียนเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
• ChulaOnline : ทางเลือกหนึ่งในปัจจุบันที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ช่วยให้ผู้เรียนซึ่งอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากผู้สอนสามารถที่จะเรียนเนื้อหาวิชา หลักสูตรต่างๆได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา
• Thai2Learn : การศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ ซีดี รอม โดยมีระบบคอมพิวเตอร์รองรับ เพื่อให้ผู้เรียน สามารถได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
• iknow : ระบบที่มีกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้ Electronic อาจเป็นได้ทั้ง offline, online, server-based, web-based หรือ เครื่องที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น เครื่องวิทยุ - เทป - ซีดีรอม - TV - computer และแม้กระทั่งผ่านระบบดาวเทียม ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่า e-learning หมายถึงการศึกษาระบบที่ใช้ Internet technology เป็นหลัก
• Thailand Securities Institute (TSI) : E เป็นอักษรย่อของคำว่า Electronics (อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Learning ที่แปลว่า การเรียนรู้ ก็จะได้คำจำกัดความของ E-Learning คือ ระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วิดีโอ ซีดีรอม ระบบดาวเทียม ระบบ LAN และ Internet

คำอธิบายรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ขั้นของโปรโตคอล มาตราฐาน OSI รูปแบบต่างๆของเตรื่อข่ายX.25Network และดิจิตอล Network การประมวลผลแบบตาม ลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (vecter Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโพรเซสเซอร์ และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์
( Fault Tolerance )